--------------------------------------------------------------------------------------------------
--- **นักเรียนเตรียมทหาร สามัคคี มีความรู้ คู่คุณธรรม
--------------------------------------------------------------------------------------------------



วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับสรุปๆการอ่านหนังสือ สอบเตรียมทหาร

ใกล้สอบกันแล้วใช่ไหมเอ่ย หิหิ แต่บ้างคนยังไม่ได้เริ่มอ่านหนังสือเลย 10 เคล็ดลับง่ายๆ รวบรัด เตรียมทหาร
1.ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ
2.นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3.อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุปไม่เปิดหนังสือ
4.เช็คคำตอบ
5.อ่านอีกหนึ่งรอบ
6.สรุปใหม่เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7.ถ้าทำเป็นMind Mappingจะอ่านง่ายขึ้น
8.มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9.ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆอย่างน้อย 2ครั้ง/คาบ
10.ก่อนวันสอบห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเทียงคืน สมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เตรียมทหาร เตรียมสอบ ทหาร

หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ (ของสายศิลป์)

**หลายคนสงสัยทำไมต้องเฉพาะสายศิลป์ ก็เพราะสายศิลป์ท่องจำไวยกรณ์ ไม่ได้ท่องจำสูตร การอ่านของสายศิลป์คือการอ่านบ่อยๆให้ค่อยๆซึมเข้าไปในหัว ไม่ใช่ท่องจำถึงที่มาที่ไปของสูตร และอีกอย่างวิธีเหล่านี้ใช้ไม่ได้ในเด็กสายวิทย์**
อย่างแรกที่ต้องแนะนำ
1.กิน...ถ้าในระหว่างนี้คุณยังกลัวความอ้วนอยู่ ขอแนะนำให้ปิดหน้าต่างนี้ไปเลย ไม่ใช่ขยับปากเคี้ยวแล้วจะคิดออกนะ -*- แต่สมอง(ซึ่งถูกคุณใช้งานอย่างหนัก)ก็ต้องการสารอาหาร ควรจะเป็นของหวาน (แนะนำชอคโกแลต) คุณลองกินสิ จะรู้สึกมีพลังขึ้นมาอีก 25% และก็กินเข้าไปเลย กินๆๆ ไม่เปนไร เอนท์ติดแล้วเราลดได้ นอกจากนี้ สมองยังต้องการการผ่อนคลาย ซึ่งจะกลายเป็นหัวข้อที่ 2

2.สุขภาพจิตดี... ถ้าคุณเครียดทั้งวันทั้งคืน หนำซ้ำพ่อแม่ยังนั่งเฝ้า ...ตี 2 คุณเริ่มฟุบ พ่อคุณถามว่า "จะนอนแล้วหรอ?" ...หัวคุณก็จะหมกมุ่นอยู่กับความอึดอัด ความแค้น(ทำไมกูต้องเอนท์ด้วยวะ) ในขณะที่สายตาของคุณกวาดไปมา และสมองคุณเกร็งอย่างแรง กลับจำอะไรไม่ได้เลย คุณคิดว่าคุณเครียดแล้วจะอ่านหนังสือได้เยอะงั้นหรือ...เปล่าเลย คุณโกหกตัวเอง เหมือนเอาเชือกมารัดหัวแล้วบอกตัวเองว่า ฉันอ่านหนังสือหนักจนปวดหัวเลยนะเนี่ย...ข้อนี้แนะนำให้กินน้ำ ล้างหน้าบ่อยๆ ออกไปเดินเล่นซัก 10 นาทีคงไม่ทำให้คุณสอบตก แลกกับการชาร์จพลังสมอง...คุ้มนะ

3.สมาธิ..อย่าดูถูกวิธีโบราณ มันช่วยได้จริง...ก้อการนั่งสมาธิไงล่ะ ลองเปิดเพลงไปด้วย ถ้าคุณมีสมาธิจริงคุณจะไม่ได้ยินเสียงเพลงเลย (ไม่ใช่นั่งไปคิดไป เมื่อไหร่เพลงจะหาย..ยังงี้ไม่ได้นะคะ เพราะเท่ากับคุณนั่งฟังเพลง) คิดว่าเรามีลูกแล้วอยู่ในร่างกาย แล้วมันวิ่งขึ้นวิ่งลงช้าๆ ไปเรื่อยๆ
เคยอ่านข้อสอบรอบนึงแล้วไม่รู้ว่าข้อสอบถามอะไรมั้ย นั้นล่ะ คุณกำลังขาดสมาธิ หายใจเข้า-ออกยาวๆ และพยายามทบทวนอยู่เสมอว่าเมื่อกี้เราคิดอะไรอยู่ ให้จดจ่อกับเรื่องที่อ่านไปเรื่อยๆ อย่าให้เส้นสมองขาดตอนนะ

4.กำลังใจ...ถ้าใน 3 ข้อแรก คุณทำอะไรไม่สำเร็จเลย แปลว่าคุณขาดกำลังใจ ขาดแรงฮึดสู้ หรือง่ายๆว่า คุณไม่อยากเอนท์ มีหลายสาเหตุ
- เข้าที่ไหนก็ได้...อย่าโกหกตัวเอง เพียงเพราะว่าคุณเป็นคนขี้เกียจ ใครๆก็อยากเอนติดกันทั้งนั้น คุณบอกว่าคุณไม่หวัง คุณบอกว่าคุณขี้เกียจอ่านและไม่เอาอะไรแล้วในชีวิตดีกว่า จริงอยู่ เอน..ไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่เมื่อคุณีโอกาส ทำไมไม่ตั้งใจทำให้มันดี
- ประชดคนบางคน... โถๆๆ อย่าเอาคนอื่นมาตัดสินชะตาชีวิตตัวเองแบบนี้เป็นอันขาด ไม่ว่าแม่คุณจะประกาศแก่แม่ค้าทั้งตลาดว่าคุณไม่มีทางเอนติด หรือ พร่ำหวังให้คุณติด มหิดล-จุฬา ทั้งสองอย่างทำให้คุณหดหู่จนไม่อยากทำให้เขาสมน้ำหน้า
คุณอย่าไปสนใจดีกว่า...บอกแล้วไง คุณทำเพื่ออนาคตคุณเอง เปลี่ยนแรงกดดันนั้นให้เป็นแรงฮึดสู้...(กูจะติดแพทย์ศิริราชให้ดู..ว่างั้น)

ยังไงก็แล้วแต่ คุณต้องอ่านเยอะๆ อ่านหลายๆรอบ อ่านจนสามารถพูดสรุปออกได้เป็นฉากๆ ไม่ใช่ท่องจำ แต่มันคือการฝังลงไปในหัวที่พร้อมจะเรียกใช้เมื่อไหร่ก็ได้ อย่าไปมัวท่อง(ขอเน้น..อย่า!!!) อ่านบ่อยๆเท่านั้นที่ช่วยได้ อ่านครั้งแรกคุณจะรู้สึกสมองโล่งและคิดในใจว่า คุณจะจำได้ซักกี่คำกัน แต่ครั้งที่ 2 เฮ้ย!! คำนี้มันคุ้นๆ (หลังจากนั้นไปตามหาว่ามันแปลว่าไร ขอย้ำ!! ไม่ต้องท่อง) ครั้งที่ 3 คุณจะจำได้เองอย่างไม่น่าเชื่อ...สาธุ

สำหรับคนที่เรียนพิเศษแล้วไม่เข้าใจ...ฉันเองก็เคยสอนพิเศษ สามารถบอกได้เลย
คนที่ไม่ฟัง เอาแต่จด เอาแต่อ่านในหนังสือน่ะ พลาดโอกาสอันดีไปนะ เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่อยู่ที่ปากคนสอน คุณจะเข้าใจมั้ยก้ออยู่ที่คนสอน
เช่นเวลาไปเรียนแบรนด์ บางคนนั่งอ่านในหนังสือแล้วคิดว่า เค้าพูดถึงไหนแล้ว...กว่าจะคิดได้ว่าที่เขาพูดไม่มีในหนังสือ คุณก็จดไม่ทันแล้วล่ะ หนังสือนั่นน่ะมันไม่ไปไนหรอก คุณจะอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ คุณจะเอาเวลาว่างมาท่องทั้งเล่มก็ไม่มีใครว่า

**ถ้าเป็นไปได้เวลาเรียนพิเศษ ฟังที่อาจารย์พูด ฟังทุกคำ ไม่ใช่เหม่อลอยคำที่ 2 กลับมาฟังอีกทีคำที่ 8 ...ชาติหน้าตอนบ่ายๆคงเข้าใจ แต่ก็ไม่ใช่ฟังแล้วเขี้ยนตามคำบอก...จงฟังแล้วคิด แล้วเขียนอย่างที่ตัวเองเข้าใจ เมื่อจบคอร์สเอามาเรียบเรียงให้เป้นภาษาคน แล้วอ่านซ้ำ(หลายๆรอบ เอาให้จำได้) เราจะรู้ได้เลยว่า อ๋อ บรรทัดนี้ อาจารย์เค้าสอนไว้ว่าไงบ้าง **

...ขอแนะนำขั้นสุดท้ายว่า ม.5 เทอม 2 ควรจะเรียนพิเศษให้เสร็จ (ในกรณีที่เอนครั้งเดียวเดือนกุมภา) พอขึ้นม.6ก็ควรจะเริ่มจำที่เรียนๆมาได้แล้ว อย่าหวังว่าจะไปอ่านที่โรงเรียน มันไม่สามารถอ่านจนจับประเด็นได้เลย เว้นแต่จะเอาเลขไปทำเล่นๆ แต่ถ้าอีก 3 เดือนแล้วไม่มีไรในหัวเลย ขอแนะนำให้ทำข้อสอบย้อนหลักซัก 15 ปี ส่วนคนที่อ่านพร้อมแล้วทำ 7 ปีก้อพอ...

เตรียมสอบ การจัดตารางการอ่านหนังสือ

จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือตอนที่พี่อ่านเตรียมสอบ ไม่ได้จัดตารางเลยครับ เพราะเคยทำแล้ว ทำไม่ได้ แล้วจะอ่านให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ตอบได้คำเดียวครับ “อ่านเมื่ออยากอ่าน” แต่ต้องไม่ใช่ว่ามีแต่ไม่อยากอ่านนะ ต้องทำให้อยากอ่านบ่อยๆ อยากอ่านมากๆ อยากรู้มากๆ เพื่อให้การอ่านมีประสิทธิภาพ ครับ อ่านทุกเวลาที่สามารถทำได้นั่นแหละดีที่สุด เพื่อนพี่เคยติดสูตรไว้ในห้องน้ำ พกสูตรติดตัว พกโน้ตย่อไว้ที่กระเป๋าเสื้อตลอดเวลา บางคนมีหนังสือติดตัวทุกที่ เพื่อให้ อยากอ่านเมื่อไร ก็หยิบขึ้นมาอ่านได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องจัดตาราง เตรียมทหาร

เอาละ แล้วถ้าจะจัดตารางเวลาอ่านหนังสือ จะทำยังไงดี พี่ขอว่าเป็นข้อๆ เลยดีกว่าครับ
1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่น้องต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะครับ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงครับ วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก
2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา
ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบนะครับ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน
3. ลงมือทำ
ยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เหมือนกับที่พี่เคยเขียนไว้ว่า อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะครับ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอให้น้องๆ “ทำอะไร ทำจริง” แล้วกันนะครับ ทำให้ได้จริงๆ
4. ตรวจสอบผลงาน เตรียมทหาร
ผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ พี่ขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะครับ จะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ เก็บไว้อ่านตอนใกล้สอบ

อยากจะบอกว่าช่วงนี้ยังมีเวลาเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นที่ดี ยังไม่สายเกินไปหากคิดจะเริ่มอย่างจริงจัง อย่าอ่านเพียงแค่ได้เปิดหนังสือ อย่าโกหกตัวเองว่าได้อ่านแล้ว อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลอกคนอื่น ความรู้ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ หลอกคนอื่นอาจหลอกได้ หลอกตัวเองไม่ได้แน่นอน คนที่รู้จักเรามากที่สุดก็คือ ตัวเราเองนี่แหละ ตั้งใจทำ ทำเพื่ออนาคตของตัวเองนะครับ ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จครับ เตรียมทหาร

รวมเทคนิคการอ่านหนังสือ เตรียมสอบ

ข้อความ : เทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน

1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ

2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่

3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า “ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา” อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน

4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม

5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัด ก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง

6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใครกำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คุณสมบัติของผู้สมัครและการสอบเตรียมทหารอย่างละเอียด

ผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
อายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์
มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
มีอวัยวะ รูปร่าง ขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นนายทหารหรือตำรวจ
เป็นชายโสด ไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ
เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา
ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกให้ออกจากโรงเรียนเพราะความผิด
ไม่เป็นผู้เสพติด หรือสิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
บิดา มารดา และผู้ปกครอง เป็นผู้มีอาชีพอันชอบธรรม หรือมีหลักฐาน
เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้สมัครเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว
ผู้สมัครที่มีสิทธิได้รับคะแนนเพิ่มพิเศษ
1 ผู้สมัครเป็นบุตรของข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 15 ปี หรือได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลา

2.ผู้สมัครเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือลูกจ้างซึ่งได้กระทำหน้าที่ในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือการสงคราม หรือมีการปราบปรามจลาจลหรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้กฏอัยการศึกหรือมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิก

3. ผู้สมัครเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือลูกจ้างซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่

4. ผู้สมัครเป็นบุตรของผู้ที่ได้ช่วยเหลือราชการในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงแก่ทุพพลภาพหรือถึงแก่ชีวิต

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

อาหารบํารุงสายตา เพื่อการสอบเตรียมทหาร

ก่อนสอบเตรียมทหารควรไปหาหมอตรวจตาทุกปี คอยล้างแว่นและคอนแท็กต์เลนส์ให้สะอาด ไม่ใช่วิธีเดียวที่จะดูแลถนอมดวงตา อาหารก็จะมีส่วนช่วยได้

ศาสตราจารย์เอียน เกรียร์สัน แห่งภาควิชาจักษุวิทยา มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล บอกว่า สารอาหาร เช่น วิตามินซี น้ำมันโอเมกา-ทรี และโมเลกุลในพืชผัก เป็นอีกหนึ่งทางเลือก "ปัญหาดวงตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน และจุดด่าง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ตาบอด มีผลมาจากสิ่งที่เรากิน การกินผัก-ผลไม้เพิ่มขึ้นจะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมากในอนาคต" เตรียมทหาร

ต่อไปนี้เป็นชนิดอาหารที่จะช่วยให้ดวงตามีสุขภาพดีและสายตาคมชัด

ผักใบเขียว เตรียมทหาร

ผักโขม บร็อกโคลี กะหล่ำ เป็นแหล่งของสารให้เม็ดสี คือ ลูทีน กับซีแซนทีน ซึ่งเรตินาจะอาศัยเม็ดสีเหล่านี้ในการสร้างภาพที่คมชัด

"ผลวิจัยบ่งบอกว่า โมเลกุลของพืชเหล่านี้ช่วยเสริมเม็ดสีในดวงตา ซึ่งจะร่อยหรอลงเมื่อคนเราได้รับแสงอย่างต่อเนื่อง" ศ.เกรียร์สันบอก

งานวิจัยของสถาบันดวงตาแห่งชาติของสหรัฐพบว่า การมีเม็ดสีเพิ่มขึ้นช่วยป้องกันไม่ให้ตาบอดได้

กินมากแค่ไหน? พยายามกินผักใบเขียวให้ได้ 100 กรัม ทุกวันเว้นวัน อาจเป็นสลัดหรือผัดผักต่างๆ

ไข่

นับแต่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์สรุปว่า ไข่ไม่ได้เพิ่มคอเลสเตอรอล อาหารชนิดนี้ก็กลับมาอยู่ในรายการของกินบำรุงสุขภาพอีกครั้ง และเป็นอาหารที่มีประโยชน์แก่ดวงตาเช่นกัน เพราะในไข่แดงก็มีแหล่งของสารเม็ดสีในดวงตา คือ ลูทีนกับซีแซนทีน

กินมากแค่ไหน? ไข่คน หรือไข่ลวก เป็นอาหารเช้าสัก 2 ฟอง ในทุกวันเว้นวัน หรือจะทำไข่เจียว หรือเอาไข่แดงมาทำน้ำมายองเนสใส่สลัดก็ได้

น้ำมันปลา

สถาบันดวงตาแห่งชาติของสหรัฐวิจัยพบว่า การได้รับโอเมกา-ทรีในน้ำมันปลาเพิ่มขึ้น ช่วยลดโอกาสที่จะเป็นต้อหิน และจุดภาพชัดเสื่อมสภาพ และช่วยไม่ให้ดวงตาแห้ง ซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดดวงตาด้วยเลเซอร์

งานวิจัยชิ้นหนึ่งในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition พบว่า เมื่อสตรีที่มีอาการดวงตาแห้ง กินเนื้อปลาทูนาสัปดาห์ละ 5 มื้อ อาการก็จะลดน้อยลง 68%

กินมากแค่ไหน? สัปดาห์ละ 2-3 มื้อต่อคน จะช่วยบำรุงฮอร์โมน สมอง ผิวหนัง และช่วยบำรุงสายตา

ผลไม้สด เตรียมทหาร

ผลวิจัยพบว่า วิตามินชนิดต่างๆ โดยเฉพาะวิตามินซี ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับดวงตาทั้งหลายได้

ศาสตราจารย์เกรียร์สันบอกว่า การกินผัก-ผลไม้ให้มากขึ้นจะเป็นผลดีต่อดวงตาอย่างแน่นอน

กินมากแค่ไหน? กินผลไม้สดในตอนเช้า ผักต่างๆ เช่น บร็อกโคลี ก็มีประโยชน์มาก กินดิบๆ เป็นสลัดก็ได้ หรือนึ่งเล็กน้อยเพื่อให้ได้วิตามิน.
น้องๆเตรียมทหารสู้ๆๆ

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

5 เคล็ดการอ่านหนังสือสอบเตรียมทหาร

เตรียมทหาร1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้

** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชตนะค่ะ อิอิ

เตรียมทหาร2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)

เตรียมทหาร3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง

4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้

5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)

10 เคล็ดลับ อ่านหนังสือสอบเตรียมทหาร

1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือเตรียมทหาร
2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ เตรียมทหาร
4. เช็คคำตอบเตรียมทหาร
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น